แชร์

ลดอ้วน ลดป่วย

อัพเดทล่าสุด: 16 พ.ย. 2024
109 ผู้เข้าชม

ภาวะอ้วน คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในร่างกายมากเกินไป ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต วิธีง่ายๆ ในการประเมินภาวะอ้วนคือ ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index:BMI) โดยค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (Kg) /ส่วนสูง (m) /ส่วนสูง (m)

ภาวะอ้วนคือ ภาวะที่มีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 30 แต่เนื่องจากคนเอเชียมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าคนผิวขาว มีปริมาณไขมันรอบอวัยวะภายในมากกว่าคนผิวขาว และการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับความอ้วนเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  ที่ดัชนีมวลกายน้อยกว่า จึงมีการกำหนดภาวะอ้วนในคนเอเชียที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25
ภาวะอ้วนเป็นภาวะที่เป็นปัญหาทั่วโลก ข้อมูลจาก World Obesity Atlas คาดการณ์ว่าภาวะอ้วนจะเพิ่มจาก 14% ในปี 2020 เป็น 24% ในปี 2035 ซึ่งก็คือผู้ใหญ่มากกว่า 800 ล้านคนมีภาวะอ้วน
จากข้อมูลในปี 2022 โดยคิดภาวะอ้วนที่ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอุบัติการณ์ของภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจาก 34.0% ในปี 2016 เป็น 47.8% ในปี 2022 และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น

         
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอ้วน
  • พันธุกรรม
  • รูปแบบการทำงานในชีวิตประจำวันที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • ออกกำลังกายน้อย
  • รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีพลังงานสูง
  • มีเครื่องอำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น

 

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะอ้วน

1.  โรคเบาหวาน

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันส่วนเกินในร่างกายทำให้เกิดภาวะดื้ออินซุลิน และทำให้ตับอ่อนทำงานผิดปกติ

2.  โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะอ้วนส่งผลต่อการกระตุ้นฮอร์โมนต่อมหมวกไตและระบบประสาทอัตโนมัติส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

3.  โรคไขมันในเลือดสูง

4.  โรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะอ้วนส่งผลต่อการเกิดหัวใจโต การทำงานของหัวใจ เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ

5.  โรคไขมันพอกตับ

เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ

6.  โรคนอนกรน

เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ และอาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

7.  การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง

การรักษาภาวะอ้วน

1.  การลดน้ำหนัก

แนะนำให้ลด 5-10% ใน 6 เดือน ถ้าทำไม่ได้ให้คุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น และในระยะยาวให้ลดน้ำหนักลงอีกครั้ง
การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวันเป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ ในช่วงลดน้ำหนัก ให้ลดพลังงานจากการรับประทานอาหารให้น้อยลงจากที่ร่างกายต้องการ อย่างน้อย 500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น สุกี้น้ำ ลาบหมู เกี๊ยวน้ำ เกาเหลาเนิ้อตุ๋น แกงส้มผักรวม ต้มยำปลาน้ำใส ยำไข่ต้ม ยำวุ้นเส้น เป็นต้น

- ผู้ใหญ่เพศชาย อายุ 19-60 ปี ต้องการพลังงาน 1,800-2,200 กิโลแคลอรีต่อวัน

- ผู้ใหญ่เพศหญิง อายุ 19-60 ปี ต้องการพลังงาน 1,500-1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน

โดยความต้องการพลังงานของแต่ละคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน   

2.  การออกกำลังกาย

แนะนำให้ออกกำลังกายหนักปานกลาง เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน นาน 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์

3.  เลิกสูบบุหรี่ และเลิกดื่มแอลกอฮอล์

4.  การใช้ยาโดยปรึกษาแพทย์

5.  การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

ภาวะอ้วนเป็นภาวะที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน ทำให้จำกัดการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพไป วีเนเจอร์อยากเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันข้อมูลและเคล็ดลับเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุก ๆ วันนะคะ

 

 

WeNature

Your Daily Dose of Vitality

วันดี ๆ มีได้ทุกวันด้วยวีเนเจอร์

 


เอกสารอ้างอิง

1.     David Tak Wai Lui, Junya Ako, Jamshed Dalal, Alan Fong, Masashi Fujino, Ari Horton. Obesity in the Asia-Pacific Region: Current Perspectives. Journal of Asian Pacific Society of Cardiology 2024(3): 21.

2.     สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy